โปเกมอน เรดและบลู
โปเกมอนภาคเรด และ โปเกมอนภาคบลู (English: Pokémon Red Version and Pokémon Blue Version) เดิมจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ พ็อกเก็ตมอนสเตอส์: เรดและกรีน[a] เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีกและจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอย เกมโปเกมอนภาคนี้เป็นเกมแรกของวิดีโอเกมชุดโปเกมอน ออกจำหน่ายครั้งแรกใน ค.ศ. 1996 ในชื่อภาคเรดและกรีน สำหรับภาคบลู (Blue (ポケットモンスター青 Poketto Monsutā Ao?)) ออกจำหน่ายภายหลังในปีเดียวกันเป็นรุ่นพิเศษ ต่อมาเกมจำหน่ายชื่อภาคเรดและบลูในอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียภายในเวลา 3 ปี โปเกมอนภาคเยลโลว์ ภาคพิเศษ ออกจำหน่ายราว ๆ ปีต่อมา ภาคเรดและกรีนถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ในชื่อโปเกมอนภาคไฟร์เรดและลีฟกรีน จำหน่ายใน ค.ศ. 2004
ผู้เล่นได้ควบคุมตัวละครหลักจากมุมมองด้านบนและพาเขาท่องภูมิภาคคันโตในภารกิจเพื่อเป็นสุดยอดนักต่อสู้โปเกมอน เป้าหมายของเกมคือการเป็นแชมเปียนของโปเกมอนลีกโดยเอาชนะหัวหน้ายิม 8 คน และโปเกมอนเทรนเนอร์ยอดเยี่ยม 4 คนในภูมิภาค หรือเรียกว่าจตุรเทพทั้งสี่ (Elite Four) อีกเป้าหมายหนึ่งของเกมคือเติมเต็มสมุดภาพโปเกมอนหรือโปเกเดกซ์ (Pokédex) สารานุกรมภายในเกมให้สมบูรณ์ โดยครอบครองโปเกมอนให้ครบ 150 ตัว ทีมร็อกเก็ตเป็นกองกำลังปฏิปักษ์ เช่นเดียวกับคู่แข่งวัยเด็กของตัวละครผู้เล่นด้วย ภาคเรดและบลูมีอุปกรณ์เสริมคือสายเกมลิงก์เคเบิล สำหรับเชื่อมต่อเครื่องเล่นสองเครื่องและสามารถแลกเปลี่ยนโปเกมอนหรือต่อสู้ระหว่างกันได้ เกมทั้งสองภาคเป็นอิสระจากกันแต่มีเนื้อเรื่องเหมือนกัน[1] และขณะที่ผู้เล่นสามารถเล่นแยกกันได้ ผู้เล่นจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนโปเกมอนกันเพื่อครอบครองให้ได้ครบ 150 ตัว โปเกมอนตัวที่ 151 (มิว) จะได้มาผ่านความผิดพลาดหรือกลิตช์ (glitch) ในเกมหรือการจำหน่ายอย่างเป็นทางการจากนินเท็นโด
ภาคเรดและบลูได้รับการตอบรับที่ดี นักวิจารณ์ยกย่องทางเลือกในการเล่นหลายคน โดยเฉพาะแนวคิดการแลกเปลี่ยนโปเกมอน เกมได้คะแนน 89% จากเว็บไซต์เกมแรงกิงส์ และติดอันดับหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ปีในรายชื่อเกม 100 เกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของไอจีเอ็น การจำหน่ายเกมนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้แฟรนไชส์ทำยอดขายได้หลายพันล้านดอลลาร์ ขายรวมกันได้หลายล้านหน่วยทั่วโลก ใน ค.ศ. 2009 เกมเคยถูกบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ หัวข้อ "เกม RPG สำหรับเกมบอยที่ขายดีที่สุด" และ "เกม RPG ที่ขายดีที่สุดตลอดกาล" เกมออกจำหน่ายบนระบบคอนโซลเสมือนของเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เพื่อเป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 20 ปีของแฟรนไชส์
ระบบเกม
[edit][[ไฟล์:Bulbasaur pokemon red.png|thumb|left|ฟุชิงิดาเนะ เลเวล 5 ของผู้เล่น (ล่าง) ต่อสู้กับฮิโตะคาเงะ เลเวล 5 ของคู่แข่ง (บน)]] ภาคเรดและบลู แสดงภาพในมุมมองบุคคลที่สาม เหนือศีรษะ และประกอบด้วยหน้าจอพื้นฐานสามหน้าจอ ได้แก่ โลกของเกม (overworld) ที่ผู้เล่นใช้นำทางตัวละครหลัก[2] ฉากต่อสู้แบบมองข้าง[3] และหน้าจอเมนู ซึ่งผู้เล่นใช้ปรับแต่งค่าให้โปเกมอน ไอเทม หรือการตั้งค่าของระบบเกม[4]
ผู้เล่นสามารถใช้โปเกมอนต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น เมื่อผู้เล่นเผชิญหน้ากับโปเกมอนป่าหรือได้รับคำท้าจากเทรนเนอร์ หน้าจอจะสลับไปเป็นฉากต่อสู้แบบผลัดกันโจมตี (turn-based) ที่แสดงโปเกมอนที่ใช้ต่อสู้ ระหว่างต่อสู้ ผู้เล่นอาจเลือกท่าโจมตีให้โปเกมอนหนึ่งในสี่ท่า ใช้ไอเทม สลับเปลี่ยนโปเกมอนเป็นตัวอื่น หรือพยายามหนี โปเกมอนมีค่าฮิตพอยต์ (HP) เมื่อค่าฮิตพอยต์ของโปเกมอนลดลงเหลือศูนย์ มันจะหมดสติและไม่สามารถต่อสู้ได้จนกว่ามันจะฟื้น เมื่อโปเกมอนของศัตรูหมดสติ โปเกมอนของผู้เล่นที่ได้เข้าฉากต่อสู้จะได้รับค่าประสบการณ์ (EXP) หลังสะสมค่าประสบการณ์ได้มากพอ โปเกมอนจะขึ้นเลเวลใหม่[3] เลเวลของโปเกมอนจะควบคุมคุณสมบัติทางกายภาพของโปเกมอน เช่น ค่าสถิติในการต่อสู้ และท่าโจมตี หากถึงเลเวลที่กำหนด โปเกมอนอาจพัฒนาร่าง วิวัฒนาการของโปเกมอนนี้จะกระทบค่าสถิติและเลเวลที่โปเกมอนจะเรียนรู้ท่าใหม่ (เลเวลสูงจะได้รับค่าสถิติต่อเลเวลเพิ่มมากขึ้น แต่พวกมันอาจไม่ได้เรียนท่าใหม่ได้เร็ว หากเทียบกับเลเวลต่ำ ๆ)[5]
การจับโปเกมอนการจับโปเกมอนเป็นอีกสิ่งสำคัญในการเล่นเกม ระหว่างต่อสู้กับโปเกมอนป่า ผู้เล่นอาจโยนโปเกบอล (Poké Ball) ที่โปเกมอน ถ้าจับโปเกมอนสำเร็จ โปเกมอนจะกลายเป็นของผู้เล่น ปัจจัยความสำเร็จในการจับสำเร็จ ได้แก่ ค่าฮิตพอยต์ของโปเกมอนเป้าหมาย และชนิดของโปเกบอลที่ใช้ ยิ่งโปเกมอนเป้าหมายมีฮิตพอยต์น้อยลงและโปเกบอลที่แข็งแกร่ง ยิ่งมีอัตราสำเร็จสูง[6] เป้าหมายสูงสุดของเกมคือการเติมเต็มโปเกเดกซ์ (Pokédex) สารานุกรมโปเกมอนแบบเบ็ดเสร็จ โดยการจับ พัฒนาร่าง และแลกเปลี่ยนโปเกมอนครบ 151 สายพันธุ์[7]
โปเกมอนเรดและบลูให้ผู้เล่นแลกเปลี่ยนโปเกมอนระหว่างตลับรอมสองตลับได้ผ่านสายเชื่อมเกมลิงก์เคเบิล[8] การแลกเปลี่ยนด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทำเพื่อให้โปเกเดกซ์สมบูรณ์ เนื่องจากโปเกมอนบางตัวจะพัฒนาร่างต่อเมื่อถูกแลกเปลี่ยน และเกมแต่ละภาคจะมีโปเกมอนที่ไม่พบในอีกภาคหนึ่ง[1] สายลิงก์เคเบิลทำให้ผู้เล่นสามารถต่อสู้กับโปเกมอนของผู้เล่นอีกคนได้ด้วย[8] เมื่อเล่นภาคเรดและบลูบนเกมบอยอัดวานซ์ หรือเอสพี เกมไม่รองรับสายเชื่อมมาตรฐาน GBA/SP ผู้เล่นต้องใช้สายเชื่อมนินเท็นโดยูนิเวอร์ซัลเกมลิงก์เคเบิลแทน[9] ยิ่งกว่านั้น เกมภาคภาษาอังกฤษจะเข้ากันไม่ได้กับภาคภาษาญี่ปุ่น และการแลกเปลี่ยนระหว่างกันจะทำให้ไฟล์เซฟเกมมีปัญหา เนื่องจากเกมทั้งสองภาษาใช้ภาษาต่างกันและชุดอักขระคนละชุดกัน[10]
โปเกมอน เรดและบลู สามารถแลกเปลี่ยนกับโปเกมอนภาคเดียวกัน ภาคเยลโลว์ และสามารถแลกเปลี่ยนกับเกมโปเกมอนเจเนอเรชันที่สอง โปเกมอน โกลด์ ซิลเวอร์ และคริสตัลได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัด เช่น เกมจะไม่สามารถเชื่อมกันได้หากผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีโปเกมอนหรือท่าโจมตีที่เริ่มมีในเจเนอเรชันที่สอง[11] ในโปเกมอนสเตเดียม และโปเกมอนสเตเดียม 2 ของเครื่องนินเท็นโด 64 สามารถใช้ข้อมูล เช่น โปเกมอนและไอเทมจากโปเกมอนภาคเรดและบลูได้ผ่านอุปกรณ์ทรานสเฟอร์แพ็ก (Transfer Pak)[12][13] เรดและบลูเข้ากันไม่ได้กับเกมโปเกมอนตั้งแต่ "อัดวานซ์เจเนอเรชัน" ของเครื่องเกมบอยอัดวานซ์ หรือเกมคิวบ์ เป็นต้นไป[14]
โครงเรื่อง
[edit][[ไฟล์:Kanto-Full-Map.jpg|thumb|left|โปเกมอน เรดและบลู เกิดขึ้นที่ภูมิภาคคันโต สร้างตามแบบภูมิภาคคันโตจริงของประเทศญี่ปุ่น]]
ฉากท้องเรื่อง
[edit]ฉากท้องเรื่องในเกมโปเกมอน เรดและบลูคือภูมิภาคคันโต เป็นภูมิภาคโดดเด่นกว่าเกมหลายภาคต่อมา เนื่องจากเป็นที่อยู่ของโปเกมอน 151 สายพันธุ์ รวมถึงมีเมืองและนครที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ และเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง บางบริเวณจะเข้าได้เฉพาะเมื่อผู้เล่นเรียนรู้ความสามารถพิเศษหรือได้รับไอเทมพิเศษ[15] บริเวณที่ผู้เล่นสามารถจับโปเกมอนได้มีตั้งแต่ถ้ำไปจนถึงทะเล ซึ่งชนิดของโปเกมอนที่จับได้จะแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เมโนคุราเงะ (Tentacool) จะจับได้โดยวิธีการตกปลาหรือเมื่อผู้เล่นอยู่บนผิวน้ำ ขณะที่ซูแบต (Zubat) จะจับได้เฉพาะในถ้ำ
เนื้อเรื่อง
[edit]หลังจากเสี่ยงเดินทางเข้าไปในกอหญ้าสูงคนเดียว มีเสียงเสียงหนึ่งเตือนผู้เล่นให้หยุด ซึ่งเผยว่าเป็นศาสตราจารย์ออคิดส์ หรือโอ๊ก (Professor Oak) นักวิจัยโปเกมอนชื่อดัง ศาสตราจารย์ออคิดส์อธิบายผู้เล่นว่าโปเกมอนป่าอาจอาศัยอยู่ในกอหญ้านั้น และหากเผชิญหน้าโปเกมอนตามลำพังอาจเป็นอันตราย[16] เขาพาผู้เล่นไปที่ห้องปฏิบัติการ และเขาได้พบกับหลานชายของศาสตราจารย์ ซึ่งจะเป็นคู่แข่งของผู้เล่น ผู้เล่นและคู่แข่งจะได้เลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่จะเดินทางไปกับเขา ได้แก่ ฟุชิงิดาเนะ เซนิกาเมะ และฮิโตะคาเงะ[17] หลานชายของศาสตราจารย์จะเลือกโปเกมอนที่ได้เปรียบกว่าโปเกมอนของผู้เล่นเสมอ จากนั้นเขาจะท้าสู้กับผู้เล่นหลังได้รับโปเกมอนใหม่ และจะต่อสู้อีก ณ จุดที่กำหนดไว้ตลอดเกม[18]
ขณะเยี่ยมเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาค ผู้เล่นจะได้พบกับสถานที่พิเศษเรียกว่า ยิม ภายในอาคารเหล่านั้นจะมีหัวหน้ายิม ซึ่งผู้เล่นจะต้องเอาชนะแต่ละคนเพื่อให้ได้เข็มกลัดครบแปดอัน เมื่อสะสมเข็มกลัดครบแล้ว ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้เข้าโปเกมอนลีกที่มีโปเกมอนเทรนเนอร์ที่ดีที่สุดในภูมิภาค ผู้เล่นจะได้ต่อสู้กับสี่จตุรเทพ (Elite Four) และแชมเปียนคนใหม่คือ คู่แข่งของผู้เล่น[19] ตลอดทั้งเกม ผู้เล่นยังได้ต่อสู้กับกองกำลังของแก๊งร็อกเก็ต องค์กรอาชญากรรมที่ใช้โปเกมอนในทางที่ผิด[5] พวกเขาคิดแผนขโมยโปเกมอนหายาก และผู้เล่นจะต้องขัดขวางให้ได้[20][21]
การพัฒนา
[edit]แนวคิดของเกมโปเกมอนเกิดจากงานอดิเรกสะสมแมลง กิจกรรมที่ผู้ออกแบบเกม ซะโตะชิ ทะจิริ เคยชอบสะสมในเวลาว่างเมื่อครั้งเป็นเด็ก[22] เมื่อเติบโตขึ้น เขาสังเกตความเจริญในเมืองที่เขาอาศัยอยู่มากขึ้น และการสะสมแมลงเริ่มลดลง ทะจิริสังเกตว่าเด็ก ๆ มักเล่นในบ้านแทนนอกบ้าน และเกิดความคิดที่จะสร้างวิดีโอเกที่มีสิ่งมีชีวิตที่คล้ายแมลง เรียกว่า โปเกมอน เขาคิดว่าเด็ก ๆ จะผูกพันกับโปเกมอนได้โดยตั้งชื่อให้มัน และควบคุมมันเพื่อทดแทนความกลัวและความโกรธ เป็นการคลายเครียดในทางที่ดี อย่างไรก็ตามโปเกมอนจะไม่เลือดออกและไม่ตาย เพียงแค่หมดสติเท่านั้น แนวคิดนี้เป็นประเด็นที่ทะจิริจริงจังมาก เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้โลกของเกมมี "ความรุนแรงที่ไร้ประโยชน์"[23]
เมื่อเกมบอยวางจำหน่าย ทะจิริคิดว่าระบบของเครื่องเหมาะสมกับสิ่งที่เขาคิดไว้ โดยเฉพาะลิงก์เคเบิล ซึ่งเขามองไว้ว่าจะให้ผู้เล่นแลกเปลี่ยนโปเกมอนกันได้ แนวคิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศเป็นสิ่งใหม่ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกม เพราะก่อนหน้านี้ การเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลมีไว้แข่งขันกันเท่านั้น[24] "ผมจินตนาการถึงชุดสารสนเทศที่ส่งหากันได้ระหว่างเกมบอยสองเครื่องด้วยสายเคเบิลชนิดพิเศษ และผมร้องว้าว มันจะต้องมีบางอย่างเกิดขึ้นแน่" ทะจิริกล่าว[25] ทะจิริยังได้รับแรงบันดาลใจจากเกม เดอะไฟนอลแฟนตาซีเลเจนด์ ของบริษัทสแควร์ โดยเขากล่าวในบทสัมภาษณ์ว่าเกมให้แนวคิดกับเขาว่าไม่ใช่แค่เกมแอ็กชันที่สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อเกมเครื่องมือถือได้[26]
ตัวละครหลักตั้งชื่อตามทะจิริเองว่า ซาโตชิ โดยเขาพรรณาให้เป็นตนเองในวัยรุ่น และตั้งอีกชื่อหนึ่งตามเพื่อนสนิท ต้นแบบ ที่ปรึกษา และนักพัฒนาของนินเท็นโด ชิเงะรุ มิยะโมะโตะ ให้ชื่อตัวละครนั้นว่า ชิเงรุ[23][27] เค็น ซุงิโมะริ ศิลปินและเพื่อนของทะจิริพัฒนาภาพวาดและแบบของโปเกมอน โดยทำงานกับทีมงานน้อยกว่าสิบคนเพื่อออกแบบโปเกมอนทั้งหมด 151 ตัว ซุงิโมะริตรวจสอบแบบครั้งสุดท้าย และวาดโปเกมอนออกมาในหลายมุมเพื่อช่วยให้ฝ่ายกราฟิกเรนเดอร์โปเกมอนให้[28][29] ดนตรีในเกมแต่งโดยจุนิชิ มาสุดะ โดยเขาใช้ประโยชน์จากช่องเสียงสี่ช่องของเกมบอยในการสร้างทำนองและเสียงประกอบ และ "เสียงร้อง" ของโปเกมอนที่จะได้ยินเมื่อเผชิญหน้ากับมัน เขากล่าวว่าชื่อฉากเปิดเกมคือ "มอนสเตอร์" ผลิตด้วยภาพฉากต่อสู้ที่มาจากความคิด ใช้สัญญาณรบกวนสีขาวเพื่อให้ฟังคล้ายดนตรีสวนสนามและเลียนแบบเสียงกลองเล็ก[30]
ทีแรกเกมมีชื่อว่า แคปซูลมอนสเตอส์ (Capsule Monsters) และเนื่องจากความลำบากเรื่องเครื่องหมายการค้า เมื่อชื่อเกมผ่านการซื้อขายหลายธุรกรรมมาก ทำให้ชื่อกลายเป็นคาปูมอน (CapuMon และ KapuMon) ก่อนจะได้ชื่อเป็นพ็อกเก็ตมอนสเตอส์ (Pocket Monsters)[31][32] ทะจิริมักคิดเสมอว่านินเท็นโดจะปฏิเสธเกมของเขา เนื่องจากบริษัทยังไม่เข้าใจแนวคิดของเกมอย่างแท้จริงตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม เกมกลายเป็นความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ทะจิริและนินเท็นโดไม่เคยคาดคิด เพราะขณะนั้นความนิยมของเกมบอยเริ่มลดลงแล้ว[23] เมื่อได้ยินแนวคิดเกมโปเกมอน มิยะโมะโตะแนะว่าให้ทำให้โปเกมอนแต่ละตลับมีโปเกมอนไม่เหมือนกัน เพื่อที่จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนโปเกมอนได้[33]
ในญี่ปุ่น พ็อกเก็ตมอนสเตอส์ เรดและกรีน วางจำหน่ายเป็นภาคแรก เกมขายได้รวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากความคิดของนินเท็นโดที่ให้ผลิตออกมาเป็นสองภาคย่อยแทนที่จะทำเป็นภาคเดียว เพื่อให้ผู้ซื้อซื้อทั้งสองภาค หลายเดือนต่อมา ภาคบลูวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเป็นรุ่นพิเศษที่ให้สั่งซื้อทางจดหมายเท่านั้น[34] โดยได้เพิ่มเติมงานศิลป์ในเกมและบทพูดใหม่ ๆ[35] ทะจิริเปิดเผยโปเกมอนพิเศษชื่อ มิว ที่ซ่อนไว้ในเกมเพื่อสร้างความตื่นเต้นและความท้าทายให้กับเกม โดยเขาเชื่อว่า "สร้างข่าวลือและตำนานให้กับเกม" และ "ทำให้ความน่าสนใจในเกมยังคงอยู่"[23] ชิเงะกิ โมะริโมะโตะเพิ่มมิวลงในเกมเพื่อเป็นเรื่องล้อเล่นภายในและไม่ตั้งใจจะเปิดเผยสู่ลูกค้า[36] ต่อมา นินเท็นโดตัดสินใจแจกมิวผ่านกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมหนึ่งของนินเท็นโด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2003 มีกลิตช์อันหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จัก และใครก็ตามสามารถใช้กลิตช์นี้เพื่อให้ได้มิวมา[37]
ในช่วงปรับวิดีโอเกมให้เข้ากับลูกค้าในทวีปอเมริกาเหนือ ทีมเล็ก ๆ ทีมหนึ่งนำโดยฮิโระ นะกะมุระ ลงรายละเอียดที่โปเกมอนแต่ละตัว และเปลี่ยนชื่อโปเกมอนให้กับลูกค้าฝั่งตะวันตกตามลักษณะรูปร่างและลักษณะพิเศษหลังจากนินเท็นโดอนุมัติ โดยในระหว่างนั้น นินเท็นโดทำเครื่องหมายการค้าชื่อโปเกมอนทั้งหมด 151 ตัวเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นเอกลักษณ์กับแฟรนไชส์[38] ในระหว่างการแปลชื่อนั้นพบชัดเจนว่า การเปลี่ยนข้อความภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษง่าย ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ เกมจะต้องโปรแกรมใหม่ตั้งแต่ต้นเนื่องจากรหัสต้นฉบับมีสถานะที่ไม่เสถียร เป็นผลข้างเคียงจากการพัฒนาที่ยาวนานผิดปกติ[29] ดังนั้น เกมจึงยึดตามภาคบลูภาษาญี่ปุ่นที่เป็นรุ่นใหม่กว่า โดยออกแบบโปรแกรมและงานศิลป์ใหม่ แต่ใช้โปเกมอนชุดเดิมกับตลับเกมภาคเรดและกรีนภาษาญี่ปุ่น ตามลำดับ[34]
ขณะที่ภาคเรดและบลูที่เสร็จสมบูรณ์แล้วกำลังเตรียมตัววางจำหน่าย นินเท็นโดจ่ายเงินมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์เพื่อส่งเสริมเกม เกรงว่าเกมชุดนี้จะไม่ดึงดูดเด็ก ๆ ชาวอเมริกัน[39] ทีมที่ปรับเกมให้เข้ากับชาวตะวันตกเตือนว่า "สัตว์ประหลาดที่น่ารัก" อาจไม่เป็นที่ยอมรับจากลูกค้าชาวอเมริกัน และแนะนำให้ออกแบบใหม่และ "เสริมความแข็งแกร่ง" ให้โปเกมอนแทน ฮิโระชิ ยะมะอุชิ ประธานบริษัทนินเท็นโดในขณะนั้นปฏิเสธและมองว่าการตอบรับของชาวอเมริกันเป็นสิ่งที่น่าท้าทายที่ต้องเผชิญ[40] แม้จะมีอุปสรรคเช่นนี้ ในที่สุด ภาคเรดและบลูที่ปรับโปรแกรมใหม่โดยการออกแบบโปเกมอนใหม่ได้วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ หลังภาคเรดและกรีนวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาสองปีครึ่ง[41] เกมได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากลูกค้าต่างชาติและโปเกมอนได้กลายเป็นแฟรนไชส์ที่ทำกำไรได้ดีในอเมริกา[40]
ดนตรี
[edit]ดนตรีแต่งโดยจุนิชิ มะสุดะ[42] ด้วยคอมพิวเตอร์รุ่นคอมโมดอร์ อะมิกา ที่มีเพลย์แบ็กแบบการกล้ำรหัสของพัลส์ และแปลงเข้ากับเกมบอยด้วยโปรแกรมที่เขาเขียนเอง[43]
เพลงของภาคเรดและบลูคือดนตรีในเกมทั้งหมด บทพูดทั้งหมดปรากฏในจอเกม
การตอบรับและสิ่งสืบทอด
[edit]Script error: No such module "Video game reviews".
โปเกมอนเรดและบลูเป็นต้นแบบของเกมที่กลายเป็นแฟรนไชส์ระดับพันล้านดอลลาร์[44] ก่อนปี ค.ศ. 1997 ภาคเรด กรีน และบลู รวมกันขายได้ 10.4 ล้านตลับในประเทศญี่ปุ่น[45] ก่อนเกมจะเลิกจำหน่าย เกมขายได้รวมกัน 9.85 ล้านตลับในสหรัฐอเมริกา[46] ขณะที่ขายได้อีก 3.56 ล้านตลับในสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 2009 ไอจีเอ็นจัดให้โปเกมอนภาคเรดและบลูให้เป็น "เกม RPG บนเกมบอยที่ขายดีที่สุด" และ "เกม RPG ที่ขายดีที่สุดตลอดกาล"[47]
เกมได้รับคำวิจารณ์ส่วนใหญ่ในด้านบวก มีคะแนนสะสมจากเกมแรงกิงส์อยู่ที่ 87.86%[48] เกมได้รับคำยกย่องเป็นพิเศษในระบบผู้เล่นหลายคน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนและต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่นได้ เครก แฮร์ริสจากไอจีเอ็นให้คะแนนเกมที่ 10 เต็ม 10 กล่าวว่า "แม้ว่าคุณจะทำภารกิจเสร็จ คุณอาจจะยังมีโปกมอนในเกมไม่ครบทุกตัว ความท้าทายที่ว่าให้จับให้ครบทุกตัวเป็นสิ่งดึงดูดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเกมอย่างแท้จริง" เขายังให้ความเห็นเกี่ยวกับความนิยมของเกม โดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ ว่าเป็น "เกมที่ชวนให้คลั่ง" (craze)[1] ปีเตอร์ บาร์โทโลว์ จากเกมสปอต ให้คะแนนเกม 8.8 เต็ม 10 ติในเรื่องกราฟิกส์และเสียงว่าธรรมดา แต่เป็นเพียงข้อเสียข้อเดียวในเกม เขาย่กย่องถึงคุณค่าของการกลับมาเล่นซ้ำ เนื่องจากการที่เกมสามารถปรับแต่งได้และเกมมีความหลากหลาย และกล่าวถึงความดึงดูดในระดับสากลว่า "ภายใต้ภาพลักษณ์ภายนอกที่น่ากอด โปเกมอนเป็นเกมสวมบทบาทจริงจังและมีเอกลักษณ์ ที่มีความลึกซึ้ง และเสริมด้วยระบบหลายผู้เล่นที่ยอดเยี่ยม ในฐานะเกมสวมบทบาท เกมนี้ชวนให้ผู้เล่นใหม่ที่ไม่เคยเล่นแนวนี้ สามารถมาเล่นให้สนุกได้ง่าย แต่มันจะสร้างความเพลิดเพลินให้แฟนเกมตัวจริงเช่นกัน พูดง่าย ๆ คือมันเป็นเกมของเกมบอยที่ดีที่สุดจนถึงทุกวันนี้"[5]
ความสำเร็จของเกมมาประสบการณ์แบบใหม่ในการเล่นเกมมากกว่าเอฟเฟกต์ภาพและเสียง เอกสารที่โรงเรียนธุรกิจโคลัมเบียตีพิมพ์ระบุว่าเด็ก ๆ ทั้งชาวอเมริกันและญีปุ่นชอบระบบเกมมากกว่าเอฟเฟต์พิเศษเกี่ยวกับภาพหรือเสียง ในเกมชุดโปเกมอน หากไม่มีเอฟเฟกต์ปลอมเช่นนี้ กล่าวกันว่าจะยกระดับจินตนาการและความสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ ได้[45] หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนให้ความเห็นว่า "ด้วยประเด็นเกี่ยวกับเกมเอนจินและการกำหนดตำแหน่งรายละเอียดภาพ มีบางอย่างที่สดชื่นเกี่ยวกับระบบเกมขั้นสุดยอดที่ทำให้คุณเลิกสนใจกราฟิกส์ 8 บิตได้เลย"[49]
เว็บไซต์วิดีโอเกม วันอัปดอตคอม สร้างรายชื่อ "5 เกมยอดเยี่ยมที่'มาทีหลัง'" แสดงชื่อเกมที่ "พิสูจน์ถึงเครื่องเกมที่อาจขายไม่ออก" และเป็นหนึ่งในเกมสุดท้ายที่ออกกับเครื่องเล่นนั้น เมื่อครั้งที่เกมออกจำหน่ายบนเครื่องเกมบอยหลายเกมในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เรดและบลูอยู่อันดับที่หนึ่ง[25] และถือเป็น "อาวุธลับ" ของนินเท็นโด นินเท็นโดเพาเวอร์จัดอันดับให้ภาคเรดและบลูเป็นวิดีโอเกมที่ดีที่สุดอันดับที่สามของเครื่องเล่นเกมบอยและเกมบอยคัลเลอร์ โดยกล่าวว่าบางอย่างในเกมจะทำให้พวกเขาเล่นอย่างต่อเนื่องจนพวกเขาจับโปเกมอนได้ทุกตัว[50] เบ็น รีฟส์ จากนิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์เรียกพวกเขา (รวมถึงโปเกมอน เยลโลว์ โกลด์ ซิลเวอร์ และคริสตัล) ให้เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดอันดับสองและกล่าวว่าเกมมีความลึกมากกว่าที่เห็น[51] นิตยสารทางการของนินเท็นโดตั้งให้เกมเป็นหนึ่งในเกมของนินเท็นโดที่ดีที่สุดตลอดกาล อยู่อันดับที่ 52 ในรายชื่อเกม 100 เกมยอดเยี่ยม[52] ภาคเรดและบลูอยู่อันดับที่ 72 ในรายชื่อ 100 เกมยอดเยี่ยมตลอดกาลจัดโดยไอจีเอ็นเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยนักวิจารณ์มองว่าเกมทั้งคู่ "ริเริ่มการปฏิวัติวิดีโอเกม" และยกย่องการออกแบบเกมที่มีรายละเอียดลึกและกลยุทธ์ที่ซับซ้อน และการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเกมด้วย[53] สองปีถัดมา เกมขึ้นไปอยู่อันดับที่ 70 ในรายชื่อที่ปรับปรุงแล้ว เนื่องจากสิ่งสืบทอดในเกมได้บันดาลให้เกิดวิดีโอเกมภาคต่อ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และสินค้าอื่น ๆ มากมาย เป็นการหยั่งรากวัฒนธรรมสมัยนิยมอย่างแข็งแกร่ง[54] ในปี ค.ศ. 2007 เรดและบลูถูกจัดอยู่อันดับที่ 37 และนักวิจารณ์กล่าวถึงความยืนยาวของเกมว่า
สำหรับทุกเกมที่ออกมาในทศวรรษนี้ ทั้งหมดเริ่มต้นตรงนี้ที่เกมโปเกมอนเรด/บลู การผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์อย่างการสำรวจ การฝึกโปเกมอน การต่อสู้ และการแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดเป็นเกมที่มีรายละเอียดลึกซึ้งกว่าที่เกมปรากฏให้เห็นครั้งแรก และเป็นเกมที่บังคับให้ผู้เล่นเข้าสังคมกับคนอื่นเพื่อที่จะได้รับประสบการณ์ที่แท้จริงที่เกมจะนำเสนอได้ เกมมีความยาว ชวนให้จดจ่อ และชวนให้เสพติดแบบที่เกมที่ดีที่สุดเท่านั้นที่จะทำให้เสพติดได้ พูดถึงสิ่งที่จะทำกับเกมออกมาเถอะ แต่มีแฟรนไชส์เกมไม่มากที่สามารถอ้างได้ว่าเกมจะได้รับความนิยมหลังจากเกมออกวางแผงขายเป็นเวลาสิบปีได้[27]
เกมได้รับเครดิตในเรื่องการเริ่มเปิดทางสู่การเป็นเกมชุดที่ประสบความสำเร็จระดับหลายพันล้านดอลลาร์[25] หลังภาคเรดและบลูออกจำหน่ายห้าปี นินเท็นโดเฉลิมฉลอง "โปเกโมนิเวอร์แซรี" (Pokémoniversary) จอร์จ แฮร์ริสัน รองประธานอาวุโสของฝ่ายสื่อสารและการตลาดของนินเท็นโดอเมริกา กล่าวว่า "อัญมณีเลอค่าเหล่านั้น [โปเกมอนเรดและบลู] ได้พัฒนาเป็นภาครูบีและแซฟไฟร์ การออกจำหน่ายเกมโปเกมอนพินบอลเริ่มการเดินทางโปเกมอนครั้งใหม่ที่จะเปิดตัวในไม่กี่เดือนที่จะมาถึง"[55] เกมชุดนี้ขายได้มากกว่า 175 ล้านเกมแล้ว ทั้งหมดเป็นผลมาจากโปเกมอนเรดและบลูประสบความสำเร็จอย่างมาก[25]
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 โปรแกรมเมอร์นิรนามชาวออสเตรเลียคนหนึ่งเผยแพร่รายการทวิตช์เพลส์โปเกมอน "การทดลองทางสื่อสังคม" บนเว็บไซต์วิดีโอสตรีมมิง ทวิตช์ โครงการนี้เป็นความพยายามแบบคราวด์ซอร์ซิง (crowdsourcing) เล่นโปเกมอนภาคเรดรุ่นปรับปรุงโดยพิมพ์ชุดคำสั่งลงไปในช่องแชต โดยมีผู้ชมจำนวน 50,000 คนในเวลาเดียวกัน ผลลัพธ์ถูกนำมาเปรียบเทียบกับ "การชมรถชนกันแบบภาพเคลื่อนไหวช้า"[56] เกมเล่นจบในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2014 ด้วยการควบคุมเกมจากผู้ใช้หลายคนแบบต่อเนื่อง ใช้เวลาทั้งหมด 390 ชั่วโมง[57]
รุ่นอื่นๆ
[edit]โปเกมอน บลู (ฉบับญี่ปุ่น)
[edit]โปเกมอน ภาคบลู (Pokémon Blue (ポケットモンスター 青 Poketto Monsutā Ao?, lit. "Pocket Monsters Blue")) มีจำหน่ายในญี่ปุ่นผ่านการสั่งซื้อทางจดหมาย[34] เฉพาะสมาชิกของ โคโระโคโระคอมิก เท่านั้น ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1996 ต่อมาก็ได้วางจำหน่ายตามร้านค้าปลีกทั่วไป ตั้งแต่ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1999[58] ตัวเกมได้รับการปรับปรุงทั้งงานศิลป์ในเกม และบทสนทนาใหม่[35] โค้ด บทของเกม และงานศิลป์ของภาคนี้เคยใช้เมื่อครั้งจำหน่ายภาคเรดและกรีนนอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อภาคเป็นเรดและบลู[34] และใช้คาเม็กซ์เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ เกมภาคบลูภาษาญี่ปุ่นมีโปเกมอนทั้งหมดยกเว้นโปเกมอนที่พบในภาคเรดและกรีนจำนวนหนึ่ง ทำให้โปเกมอนบางตัวพบได้เฉพาะในภาคดั้งเดิมเท่านั้น
โปเกมอนเยลโลว์
[edit]โปเกมอน ภาคเยลโลว์ (Pokémon Yellow: Special Pikachu Edition (ポケットモンスター ピカチュウ Poketto Monsutā Pikachū?, lit. "Pocket Monsters Pikachu")) เป็นภาคปรับปรุงของภาคเรดและบลู ออกจำหน่ายวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1998 ในประเทศญี่ปุ่น[59][60] และจำหน่ายในอเมริกาเหนือและยุโรปในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1999[61] และ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2000[62] ตามลำดับ เกมถูกออกแบบให้คล้ายกับอะนิเมะโปเกมอน โดยผู้เล่นจะได้รับพิกะจูเป็นโปเกมอนเริ่มต้น และคู่แข่งจะเริ่มต้นด้วยอีวุย ตัวละครบางตัวจะคล้ายกับตัวละครในอะนิเมะ เช่น มุซาชิ โคจิโร่ และเนียซ
โปเกมอน ไฟร์เรดและลีฟกรีน
[edit]โปเกมอน ภาคไฟร์เรด และโปเกมอนภาคลีฟกรีน (Pokémon FireRed Version and LeafGreen Version (ポケットモンスター ファイアレッド・リーフグリーン Poketto Monsutā Faiareddo Rīfugurīn?)) เป็นเกมภาคปรับปรุงวิดีโอเกมโปเกมอนภาคเรดและกรีนที่เป็นต้นฉบับ ตัวเกมถูกพัฒนาโดยเกมฟรีกและจัดจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับลงเครื่องเกมบอยอัดวานซ์ และมีอุปกรณ์เสริมคือตัวปรับไร้สายสำหรับเกมบอยอัดวานซ์ ซึ่งเดิมแถมมาพร้อมกับเกม อย่างไรก็ตามเนื่องจากลูกเล่นใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในไฟร์เรดและลีฟกรีน (เช่นการเปลี่ยนแปลงค่าสถิติท่าพิเศษ (Special) แยกเป็นโจมตีท่าพิเศษ (Special Attack) และป้องกันท่าพิเศษ (Special Defense) ) การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เข้ากับภาคที่เก่ากว่า ไฟร์เรดและลีฟกรีนวางจำหน่ายญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2004[63][64] และออกจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปในวันที่ 9 กันยายน[65] และ 1 ตุลาคม[66] ตามลำดับ หลังวางจำหน่ายได้เกือบสองปี นินเท็นโดนำเกมภาคนี้มาตีตลาดใหม่ในชื่อ เพลเยอส์ชอยส์[67]
เกมได้รับคำสรรเสริญ ได้คะแนนรวมร้อยละ 81 จากเมตาคริติกส์[68] นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยกย่องการที่เกมนำเสนอคุณสมบติใหม่ขณะที่ยังรักษาระบบเกมดั้งเดิมไว้อย่างดี การตอบรับในด้านกราฟิกส์และเสียงนั้นมีคละกันกันไป นักวิจารณ์บางคนตำหนิว่าเรียบง่ายเกินไปและไม่ปรับปรุงจากเกมภาคก่อนหน้า โปเกมอน รูบีและแซฟไฟร์ มากนัก ไฟร์เรดและลีฟกรีนประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขายได้รวมประมาณ 12 ล้านชุดทั่วโลก[69]
คอนโซลเสมือน
[edit]ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 นินเท็นโดประกาศในการนำเสนอนินเท็นโดไดเรกต์ว่าเกมโปเกมอนรุ่นเก่าจะวางจำหน่ายในบริการคอนโซลเสมือนของนินเท็นโด 3ดีเอส ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ในโอกาสฉลองครบรอบ 20 ปีที่จำหน่ายเกมในญี่ปุ่น เกมดังกล่าวเป็นเกมแรกในคอนโซลเสมือนที่จำลองการทำงานของสายเกมลิงก์เคเบิลเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนและต่อสู้ระหว่างเกมได้[70] แต่ละภูมิภาคจะได้รับเกมเฉพาะภาคที่เคยวางจำหน่ายในภูมิภาคนั้นเท่านั้น อย่างเช่น ภาคกรีนจะจำหน่ายเฉพาะลูกค้าชาวญี่ปุ่น[71] รุ่นเหล่านี้สามารถย้ายโปเกมอนไปยังเกมโปเกมอนภาคซันและมูนที่กำลังจะมาถึง ผ่านทางโปรแกรมประยุกต์โปเกมอนแบงก์ได้ด้วย[72]
นอกจากนี้ยังมีของพิเศษพ่วงนินเทนโด 2ดีเอส กับแต่ละคอนโซลที่มีสีเดียวกับสีของแต่ละภาค วางจำหน่ายในญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลียในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[73] และในอเมริกาเหนือมีเครื่องนิวนินเท็นโด 3ดีเอส ตัวเครื่องเป็นลายเดียวกับภาพกล่องเกมภาคเรดและบลู[74]
ก่อนวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2016 ยอดขายของเกมภาคที่จำหน่ายใหม่อีกครั้งรวมกันแตะ 1.5 ล้านตลับ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งขายได้ใตลาดอเมริกาเหนือ[75]
ในรูปแบบอื่น
[edit]- โปเกมอน ออริจินส์ – อะนิเมะทางโทรทัศน์ตอนพิเศษ ที่อิงจากเกมต้นฉบับ
เชิงอรรถ
[edit]อ้างอิง
[edit]- ^ a b c Harris, Craig (1999-06-23). "Pokemon Red Version Review". IGN. Retrieved 2008-06-26.
- ^ Game Freak (1997-12-09). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 8.
- ^ a b Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 17.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 10.
- ^ a b c Bartholow, Peter (2000-01-28). "GameSpot review". GameSpot. Archived from the original on 2010-02-06. Retrieved 2008-06-26.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 21.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 7.
- ^ a b Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 36.
- ^ "nintendo.com.au – GBC – Frequently Asked Questions". Nintendo. Archived from the original on 2007-12-22. Retrieved 2008-10-07.
- ^ "Game Boy Game Pak Troubleshooting – Specific Games". Nintendo of America Inc. Retrieved 2009-06-09.
MissingNO is a programming quirk, and not a real part of the game
- ^ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide: Trading". IGN. Retrieved 2008-06-27.
- ^ Gerstmann, Jeff (2000-02-29). "Pokemon Stadium for Nintendo 64 Review". GameSpot. Retrieved 2008-09-16.
- ^ Villoria, Gerald (2001-03-26). "Pokemon Stadium 2 for Nintendo 64 Review". GameSpot. p. 2. Retrieved 2008-09-16.
- ^ Harris, Craig (2003-03-17). "IGN: Pokemon Ruby Version Review". IGN. Retrieved 2008-10-25.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 20.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 2.
- ^ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 3.
- ^ IGN Staff. "Guides: Pokemon: Blue and Red". IGN. p. 113. Retrieved 2008-10-24.
- ^ IGN Staff. "Guides: Pokemon: Blue and Red". IGN. p. 67. Retrieved 2008-06-27.
- ^ IGN Staff. "Guides: Pokemon: Blue and Red". IGN. p. 99. Retrieved 2009-02-04.
- ^ IGN Staff. "Guides: Pokemon: Blue and Red". IGN. p. 165. Retrieved 2009-02-04.
- ^ Plaza, Amadeo (2006-02-06). "A Salute to Japanese Game Designers". Amped IGO. p. 2. Archived from the original on 2007-01-21. Retrieved 2006-06-25.
- ^ a b c d Larimer, Time (1999-11-22). "The Ultimate Game Freak". TIME Asia. p. 2. Archived from the original on 2007-11-12. Retrieved 2008-09-16.
- ^ Larimer, Time (1999-11-22). "The Ultimate Game Freak". TIME Asia. p. 1. Archived from the original on 2007-12-12. Retrieved 2008-09-16.
- ^ a b c d 1UP Staff. "Best Games to Come Out Late in a System's Life". 1UP. Retrieved 2008-09-16.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (link) - ^ "Pokémon interview" (in Japanese). Nintendo. Retrieved 2009-06-06.
- ^ a b "IGN's Top 100 Games 2007 | 37 Pokemon Blue Version". IGN. Retrieved 2008-09-15.
- ^ Staff. "2. 一新されたポケモンの世界". Nintendo.com (in Japanese). Nintendo. p. 2. Retrieved 2010-09-10.
- ^ a b Kohler, Chris (2004). Power-Up: How Japanese Video Games Gave the World an Extra Life (1st ed.). BradyGames. pp. 237–250. ISBN 0-7440-0424-1.
- ^ Masuda, Junichi (2009-02-28). "HIDDEN POWER of Masuda: No. 125". Game Freak. Retrieved 2009-06-09.
- ^ Staff (2004-02-18). 写真で綴るレベルX~完全保存版! (in Japanese). AllAbout.co.jp. Retrieved 2010-05-21.
- ^ Tomisawa, Akihito (August 2000). ゲームフリーク 遊びの世界標準を塗り替えるクリエイティブ集団 (in Japanese). ISBN 4-8401-0118-3.
- ^ Nutt, Christian (2009-04-03). "The Art of Balance: Pokémon's Masuda on Complexity and Simplicity". Gamasutra. Retrieved 2009-06-09.
- ^ a b c d Staff (November 1999). "What's the Deal with Pokémon?". Electronic Gaming Monthly (124): 216.
- ^ a b Chen, Charlotte (December 1999). "Pokémon Report". Tips & Tricks. Larry Flynt Publications: 111.
- ^ "Iwata Asks – Pokémon HeartGold Version & SoulSilver Version". Nintendo.com. Retrieved 2012-10-16.
- ^ DeVries, Jack (2008-11-24). "IGN: Pokemon Report: OMG Hacks". IGN. Retrieved 2009-02-16.
- ^ Staff (November 1999). "What's the Deal with Pokémon?". Electronic Gaming Monthly (124): 172.
- ^ Tobin, Joseph Jay (2004). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. p. 66. ISBN 0-8223-3287-6.
- ^ a b Ashcraft, Brain (2009-05-18). "Pokemon Could Have Been Muscular Monsters". Kotaku. Retrieved 2009-06-26.
- ^ IGN Staff. "Guides: Pokemon: Blue and Red". IGN. p. 62. Retrieved 2008-10-24.
- ^ "GB Pokémon Complete Sound CD". VGMdb. Retrieved 2015-07-07.
- ^ http://www.gameinformer.com/b/features/archive/2014/05/13/pokemon_2700_s-music-master-the-man-behind-the-catchiest-songs.aspx
- ^ Lua error in package.lua at line 80: module 'Module:Citation/CS1/Suggestions' not found.
- ^ a b Safier, Joshua; Nakaya, Sumie (2000-02-07). "Pokemania: Secrets Behind the International Phenomenon". Columbia Business School. Retrieved 2011-08-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (link) - ^ "US Platinum Videogame Chart". The Magic Box. 2007-12-27. Retrieved 2008-08-03.
- ^ DeVries, Jack (2009-01-16). "IGN: Pokemon Report: World Records Edition". IGN. Retrieved 2009-02-16.
- ^ Cite error: Invalid
<ref>
tag; no text was provided for refs namedGame Rankings
; see Help:Cite errors/Cite error references no text (). - ^ Bodle, Andy and Greg Howson (1999-09-30). "Monsters to the rescue". The Guardian. Retrieved 2009-01-15.
- ^ "Nintendo Power – The 20th Anniversary Issue!" (Magazine). Nintendo Power. 231 (231). San Francisco, California: Future US. August 2008: 72.
{{cite journal}}
: Cite journal requires|journal=
(help) - ^ Reeves, Ben (2011-06-24). "The 25 Best Game Boy Games Of All Time". Game Informer. Retrieved 2013-12-06.
- ^ East, Tom (2009-03-02). "Feature: 100 Best Nintendo Games". Official Nintendo Magazine. Retrieved 2009-03-18.
{{cite web}}
: Italic or bold markup not allowed in:|publisher=
(help) - ^ Staff (2003-04-30). "The Top 100: 71–80". IGN. Retrieved 2008-09-15.
- ^ "IGN's Top 100 Games 061-070". IGN. Retrieved 2008-09-15.
- ^ Harris, Craig (2003-08-29). "IGN: Nintendo Celebrates Pokemoniversary". IGN. Retrieved 2008-09-15.
- ^ "Twitch plays Pokémon: The largest 'massively multiplayer' Pokémon game is beautiful chaos". The Independent. Retrieved 2015-02-16.
- ^ "Twitch Plays Pokemon conquers Elite Four, beating game after 390 hours". CNET. CBS Interactive. Retrieved 2015-02-16.
- ^ Cite error: Invalid
<ref>
tag; no text was provided for refs namedreleasedates
; see Help:Cite errors/Cite error references no text (). - ^ "ポケットモンスター ピカチュウ". The Pokémon Company. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "ポケットモンスター ピカチュウ". Nintendo. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "Pokémon™ Yellow Special Pikachu Edition". The Pokémon Company International. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "Pokémon™ Yellow Special Pikachu Edition". The Pokémon Company International. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "ポケットモンスター ファイアレッド・リーフグリーン". The Pokémon Company. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "ポケットモンスター ファイアレッド・リーフグリーン". Nintendo. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "Pokémon™ FireRed Version and Pokémon™ LeafGreen Version". The Pokémon Company International. Retrieved 2013-03-13.
- ^ "Pokémon™ FireRed Version and Pokémon™ LeafGreen Version". The Pokémon Company International. Retrieved 2013-03-13.
- ^ Harris, Craig (2006-07-26). "IGN: Player's Choice, Round Two". IGN. Retrieved 2009-09-05.
- ^ Lua error in package.lua at line 80: module 'Module:Citation/CS1/Suggestions' not found.
- ^ "Financial Results Briefing for Fiscal Year Ended March 2008" (PDF). Nintendo. 2008-04-25. p. 6. Retrieved 2009-09-05.
- ^ "Nintendo Direct - 11.12.2015". Nintendo. 2015-11-12. Retrieved 2015-11-14.
- ^ "Nintendo Direct 2015.5.31 プレゼンテーション映像". Nintendo. 2015-11-12. Retrieved 2015-11-14.
- ^ Conditt, Jessica. "Pokemon Sun And Moon Hit The Nintendo 3DS This Holiday". Engadget. Retrieved 26 February 2016.
- ^ Kamen, Matt (12 January 2016). "Pokémon marks 20th birthday with retro 2DS bundles". Retrieved 3 August 2016.
- ^ Farokhmanesh, Megan (12 January 2016). "Pokémon celebrates its 20th anniversary with a New Nintendo 3DS bundle this February". Polygon. Retrieved 3 August 2016.
- ^ "Financial Results Briefing for Fiscal Year Ended March 2016". Nintendo. April 28, 2016. p. 3. Retrieved May 1, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[edit]- Pocket Monsters Red and Green – Nintendo Japan (ญี่ปุ่น)
- Pocket Monsters Blue – Nintendo Japan (ญี่ปุ่น)
- Pocket Monsters Yellow – Nintendo Japan (ญี่ปุ่น)
หมวดหมู่:เกมสำหรับเกมบอย หมวดหมู่:เกมผลิตโดยเกมฟรีก หมวดหมู่:เกมโปเกมอนเล่นตามบทบาท หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2539 หมวดหมู่:วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น หมวดหมู่:วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียวและหลายผู้เล่น หมวดหมู่:วิดีโอเกมสัตว์เลี้ยงจำลอง
- Pages with script errors
- Articles containing Japanese-language text
- Pages using the JsonConfig extension
- CS1 maint: numeric names: authors list
- CS1 Japanese-language sources (ja)
- CS1 uses Japanese-language script (ja)
- CS1 maint: multiple names: authors list
- حوالہ جات میں غلطیوں کے ساتھ صفحات
- CS1 errors: missing periodical
- CS1 errors: markup
- Articles containing explicitly cited English-language text
- Articles with hatnote templates targeting a nonexistent page